นโยบาย ประเทศไทยไร้สารพิษตกค้าง

นโยบาย ประเทศไทยไร้สารพิษตกค้าง

ประเทศไทยไร้สารพิษตกค้าง (ร่างพระราชบัญญัติการรายงานและเปิดเผยข้อมูล การปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ พ.ศ…) สถานการณ์และปัญหา 1. ปัจจุบันสังคมขาดข้อมูลความรู้การปล่อยสารมลพิษเข้าสู่ระบบนิเวศ ทั้งดิน น้ำ อากาศ และการปนเปื้อนของสาพิษที่ในอาหารที่กิน อากาศที่หายใจ และผลิตภัณฑ์ต่างๆ ที่ใช้ในชีวิตประจำวัน และสารมลพิษดังกล่าว มีผลกระทบต่อสุขภาพของผู้คนอย่างไร เนื่องจากแหล่งกำเนิดของมลพิษในสิ่งแวดล้อมกระจายออกไปโดยขาดการควบคุมที่รัดกุม 2. สิทธิในการเข้าถึงข้อมูลข่าวสาร (Right to know) สิทธิผู้บริโภค หลักการป้องกันไว้ก่อน และหลักการภาระรับผิดของบรรษัทผู้ก่อมลพิษเป็นหัวใจสำคัญของการรายงาน และเปิดเผยข้อมูลการปล่อย และเคลื่อนย้ายสารมลพิษ หรือ PRTR 3. การเจริญเติบโตของอุตสาหกรรมในประเทศ ก่อให้เกิดภัยคุกคามจากมลพิษต่อสิ่งแวดล้อมและคร่าชีวิตคนจำนวนมาก 4. รัฐบาลต้องมีกฎหมายและมาตรการลดการปล่อยมลพิษสู่สิ่งแวดล้อม พร้อมกับการเติบโตของอุตสาหกรรมอย่างยั่งยืน 5. PRTR เป็นกฎหมายหลักที่ทั่วโลกยอมรับ กล่าวคือ กฎหมายที่สามารถแก้ปัญหามลพิษอากาศ น้ำและดิน โดยลดความเสี่ยงด้านสุขภาพ และเป็นเครื่องมือที่มีประสิทธิภาพในการขับเคลื่อนสู่การพัฒนาที่ยั่งยืน ประโยชน์ที่ได้รับจากนโยบาย 1. ประชาชนมีฐานข้อมูลหรือคลังข้อมูลสารเคมีที่อาจจะเป็นอันตราย/สารมลพิษที่ปล่อยสู่อากาศ น้ำและดิน และของเสียที่มีการเคลื่อนย้ายจากแหล่งกำเนิดไปกำจัดหรือบำบัด 2. ภาครัฐมีระบบที่สำหรับติดตามแนวโน้มมลพิษจากภาคอุตสาหกรรม ระบุพื้นที่มลพิษ และจัดลำดับความสำคัญของแผนป้องกันสิ่งแวดล้อม 3. ประเทศไทยมีการพัฒนาที่ยั่งยืนและการจัดการสารเคมีที่ปลอดภัย กฎหมาย /นโยบาย / กลไกนโยบาย • ร่างพระราชบัญญัติการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ พ.ศ… ผู้ปฏิบัติ • หลัก : กระทรวงทรัพยากรธรรมชาติและสิ่งแวดล้อม, กระทรวงอุตสาหกรรม, กระทรวงมหาดไทย • รอง : กรมโรงงานอุตสาหกรรม กรมควบคุมมลพิษ การนิคมอุตสาหกรรม สภาอุตสาหกรรมแห่งประเทศไทย แนวทางการผลัดดันและรูปธรรมที่คาดหวัง • คณะอนุกรรมการพิจารณาร่างกฎหมายลำดับรอง ภายใต้กรมโรงงานอุตสาหกรรม • กระทรวงและหน่วยงานที่เกี่ยวข้อง ให้ความเห็นกับร่างพระราชบัญญัติการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ พ.ศ… เสนอต่อสำนักงานเลขาธิการรัฐสภา • นายกรัฐมนตรี พิจารณาและรับรองร่างพระราชบัญญัติการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ พ.ศ… • ที่ประชุมรัฐสภา (สภาผู้แทนราษฎร และวุฒิสภา) พิจารณาร่างพระราชบัญญัติการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ พ.ศ… เสนอต่อสำนักงานเลขาธิการรัฐสภาและรับรองในวาระที่ 1 และตั้งคณะกรรมาธิการร่วมเพื่อพิจารณาแก้ไขปรับปรุงร่างกฎหมายฯ กระบวนการผลักดันงานที่สำคัญ • ภาคีเครือข่ายจัดให้มีกระบวนการเข้าชื่อเสนอร่างกฎหมายโดยประชาชน ซึ่งเป็นสิทธิของประชาชนตามรัฐธรรมนูญแห่งราชอาณาจักรไทย พ.ศ. 2560 • ภาคประชาสังคมรวบรวมรายชื่อประชาชนเพื่อสนับสนุนร่างกฎหมาย • ภาคการเมืองแสดงความเห็นด้วยกับร่างพระราชบัญญัติการรายงานและเปิดเผยข้อมูลการปล่อยและเคลื่อนย้ายสารมลพิษ พ.ศ… และร่วมผลักดันร่วมกับภาคประชาสังคม ร่วมถึงขับเคลื่อนกฎหมายในขั้นตอนของรัฐสภา

Points

Back to group

This content is created by the open source Your Priorities citizen engagement platform designed by the non profit Citizens Foundation

Your Priorities on GitHub

Check out the Citizens Foundation website for more information