นโยบายระบบบำนาญแห่งชาติ

นโยบายระบบบำนาญแห่งชาติ

สถานการณ์และปัญหา 1. ปัจจุบันผู้สูงอายุจำนวน12ล้านคนได้รับเบี้ยยังชีพอยู่ที่ 600-1,000บาทต่อเดือนซึ่งต่ำกว่าเส้น ความยากจนถึง 3 เท่า และอัตราเงินเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุไม่ได้ปรับเพิ่มขึ้น ตั้งแต่ปี 2554 จนถึง ปัจจุบันเป็นเวลาถึง 11 ปี 2. ผู้สูงอายุมีรายได้ต่ำกว่าเส้นความยากจนถึงร้อยละ 34.3 3. ผู้สูงอายุที่ยังคงทำงานกว่าร้อยละ 90 เป็นแรงงานนอกระบบ และในจำนวนนี้ราวร้อยละ 70 4. ทำงานในภาคการเกษตร ซึ่งมีระดับรายได้ที่ต่ำกว่าภาคการผลิตอื่น 5. ประชากรส่วนใหญ่ยังขาดการวางแผนการเงินและการออมเพื่อยามสูงอายุที่เหมาะสมและเพียงพอ 6. ทำให้ขาดความมั่นคงในการดำเนินชีวิตยามสูงวัย ประโยชน์ที่ได้รับจากนโยบาย ผู้สูงอายุมีความมั่นคงในการดำเนินชีวิตมียามสูงวัยอย่างถ้วนหน้า เพื่อรองรับสถานการณ์สังคมสูงวัย สมบูรณ์ในอนาคต กลุ่มเป้าหมาย ผู้ได้รับประโยชน์ - ผู้สูงอายุ ภาคนโยบาย - กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ กระทรวง แรงงาน กองทุนการออมแห่งชาติ ภาคขับเคลื่อน - เครือข่ายผู้สูงอายุ เครือข่ายบำนาญแห่งชาติ สมาคมสภาผู้สูงอายุแห่งประเทศไทย นโยบาย / กลไกนโยบาย 1. คณะกรรมการผู้สูงอายุแห่งชาติ 2. คณะกรรมการนโยบายบำนาญแห่งชาติ ผู้ปฏิบัติ • หลัก : กระทรวงการคลัง กระทรวงการพัฒนาสังคมและความมั่นคงของมนุษย์ • รอง : กระทรวงแรงงาน แนวทางการผลักดันและรูปธรรมที่คาดหวัง 1. การผลักดันกฎหมายที่รองรับให้เกิด “ระบบบำนาญแห่งชาติ” เพื่อสร้างความมั่นคงในการดำเนิน ชีวิตเมื่อยามสูงอายุ โดยเป็นหลักประกันทางเศรษฐกิจที่เป็นมาตรการระยะยาวสำหรับผู้สูงอายุ โดย พิจารณาศึกษาการปรับเบี้ยยังชีพผู้สูงอายุแบบถ้วนหน้า และเพียงพอต่อการดำรงชีวิต 2. สนับสนุนให้กลไกคณะกรรมการบำนาญแห่งชาติดำเนินการได้อย่างมีประสิทธิภาพตาม วัตถุประสงค์ และครอบคลุมการจัดระบบบำนาญได้อย่างครอบคลุมถ้วนหน้า 3. บูรณาการด้านสวัสดิการทุกประเภทและทุกโครงการของภาครัฐเข้าด้วยกันและเปิดให้หน่วยงานที่ เกี่ยวข้องสามารถเข้าถึงข้อมูลได้อย่างเป็นระบบ 4. ส่งเสริมการพัฒนาทักษะและการทำงานสำหรับวัยสูงอายุเพื่อเพิ่มรายได้และความมั่นคงในการ ดำเนินชีวิตเมื่อวัยสูงอายุ 5. ส่งเสริมการวางแผนการเงินและการออมในรูปแบบที่เหมาะสมสำหรับประชากรวัยก่อนสูงอายุ กระบวนการผลักดันงานที่สำคัญ 1. ขับเคลื่อนให้เกิดการระบบบำนาญแห่งชาติที่กํากับดูแลภายใต้คณะกรรมการบำนาญแห่งชาติ 2. ส่งเสริมให้เกิดการออมของประชาชนทุกช่วงวัย และสามารถเพิ่มการออมไว้สำหรับยามสูงอายุ เพื่อให้เกิดหลักประกันรายได้เพิ่มขึ้น 3. ส่งเสริมการพัฒนาทักษะการประกอบอาชีพสำหรับผู้สูงอายุเพื่อเพิ่มโอกาสการมีรายได้และความมั่นคงเมื่อสูงอายุ ***ข้อเสนอการขับเคลื่อนนโยบายสุขภาพ โดย สำนักงานสนับสนุนการสร้างเสริมสุขภาพ (สสส.) และภาคีเครือข่าย

Points

Back to group

This content is created by the open source Your Priorities citizen engagement platform designed by the non profit Citizens Foundation

Your Priorities on GitHub

Check out the Citizens Foundation website for more information